ก่อกำเนิด HR รุ่นใหม่

What we talked about when we talk about “Safe”

Psychological Safety VS Safe Space

องค์กรจำนวนมากประสบปัญหาเกี่ยวกับการที่พนักงานไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ไม่กล้าสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา หรือแม้กระทั่งไม่กล้าริเริ่มสิ่งต่าง ๆ รวมไปถึงการไม่กล้าตัดสินใจด้วยตนเอง ในการแก้ปัญหาข้างต้น เรามักจะได้ยินคำพูด อาทิ เราต้องสร้าง “psychologically safe team” หรือ เราควรจะต้องมี “safe space” ให้กับพนักงาน ซึ่งสะท้อนความพยายามขององค์กรในปัจจุบัน ในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงาน ที่รองรับความแตกต่างหลากหลายและเปิดพื้นที่ให้พนักงาน ผู้จัดการ หรือบุคคลากรในองค์กรของตนรู้สึก “ปลอดภัย” ที่จะพูดคุย แสดงความคิดเห็น กล้าคิดกล้าทำหรือให้ feedback ซึ่งกันและกันในการทำงาน

แต่สิ่งที่ผู้เขียนอยากจะตั้งคำถามและชี้ชวนให้ทุกท่านพิจารณา คือ เวลาที่เราพูดถึงคำว่า “Safe” หรือ ความปลอดภัย นั้น เรากำลังพูดถึงอะไรกันแน่ มันมีลักษณะเป็นอย่างไร มีความหมายอย่างไร และที่สำคัญที่สุด คือ รู้สึก “Safe” จากอะไร—ปลอด จาก ภัย อะไร

 

Amy C. Edmondson [1] เคยเปิดประเด็นการถกเถียงนี้ใน twitter ของเธอ โดยตั้งคำถามถึงความแตกต่างระหว่าง Psychological Safety และ Safe Space เธอกล่าวโดยสรุปว่า  Psychological Safety และ Safe Space นั้น แม้จะมีความใกล้เคียงและซ้อนทับกันในเชิงความหมาย แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ใน thread เดียวกันนี้มีผู้เสนอว่า Safe Space คือ พื้นที่ปลอดภัยที่ปราศจากคำวิจารณ์ (ความขัดแย้ง การโต้ตอบ หรือความท้าทาย ฯลฯ) ขณะที่ Psychological Safety นั้น คือพื้นที่ที่เอื้อให้เกิดไอเดีย ความคิดริเริ่มใหม่ ๆ กล้าที่จะเสนอบางอย่าง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาภายใต้ความรู้สึกท้าทายบางอย่าง (productive challenging) [2]

 

Edmonson ยังได้เคยนิยามความหมายของ Psychological Safety ไว้ว่า คือ ความเชื่อร่วมกันระหว่างสมาชิกในทีม ว่าทีมของตนนั้น ปลอดภัยสำหรับสมาชิกแต่ละคนที่จะกระทำบางอย่างที่อาจเสี่ยงและส่งผลกระทบต่อผู้อื่น (interpersonal risk taking) [3] งานวิจัยชิ้นนี้ยังชี้ให้เห็นอีกว่า Psychological Safety นั้นไม่ได้หมายถึง ความสามัคคีภายในกลุ่ม (group cohesiveness) เสมอไป เนื่องจากงานวิจัยก่อนหน้า (Janis, 1982) พบว่า ความสามัคคีภายในกลุ่มนี้เองต่างหากที่อาจจะลดทอนความรู้สึกที่ไม่เห็นด้วย หรือความกล้าที่จะขัดแย้งกับผู้อื่นในทีม [4]  หากแต่ Psychological Safety นั้นหมายถึงความรู้สึกปลอดภัยว่า เมื่อตนแสดงความคิดเห็นหรือพูดบางสิ่งออกไปแล้ว ตนจะไม่ถูกปฏิเสธ เพิกเฉย ทำให้รู้สึกอับอายหรือแม้กระทั่งถูกลงโทษ เป็นต้น โดยความรู้สึกปลอดภัยดังกล่าวมีพื้นฐานมาจากความเชื่อใจและความเคารพซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกในทีม และยังสรุปว่าความเสี่ยงดังกล่าวนั้นกลับส่งผลดีต่อความสำเร็จของทีมภายใต้สภาวะข้างต้น [5]

 

ดังนั้นแล้ว Psychological Safety จึงหมายถึงความรู้สึกปลอดภัยที่แต่ละคนสามารถพูด แสดงความคิดเห็น หรือกระทำบางสิ่งได้ เพื่อเป้าหมายและความก้าวหน้าของทีม แม้ภายในทีมอาจจะเกิดความรู้สึกเชิงลบขึ้น เช่น การกระทบกระทั่ง ความไม่เห็นด้วย หรือความไม่ลงรอยกันบ้าง แต่ทั้งหมดก็เป็นไปเพื่อการเติบโตของทีม เพื่อระดมไอเดียใหม่ ๆ เพื่อเปิดเผยและวิเคราะห์ให้เห็นถึงปัญหาของการทำงาน แต่ขณะเดียวกัน สมาชิกแต่ละคนก็ไว้วางใจและให้ความเคารพซึ่งกันและกัน ไม่กล่าวโทษกันไปมา แต่ร่วมกันเรียนรู้เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น โดยให้ความใส่ใจไปที่ สาเหตุ ของปัญหาที่เกิดขึ้นมากกว่าจะระบุว่าใคร ทำให้ปัญหาเกิดขึ้น (blameless postmortem)—เป็นสภาพแวดล้อมการทำงานที่ทุกคนมั่นใจได้ว่าตนจะสามารถ พลาดได้อย่างปลอดภัย (safely fail)

 ——

ในทางตรงกันข้าม Safe Space นั้นหมายถึง พื้นที่ปลอดภัย พื้นที่ของการโอบรับ และห่างไกลจากความรู้สึกหรือความคิดเชิงลบ ความอึดอัด และความไม่ลงรอยต่าง ๆ เป็นพื้นที่ของความสบายใจ เปิดโอกาสให้ได้พักหรือฟื้นฟูตนเอง หรืออาจจะหมายถึงความปลอดภัยในเชิงกายภาพ เช่น ความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องมือ เครื่องจักร หรือปลอดภัยจากการคุกคามในที่ทำงาน เป็นต้น และที่สำคัญคือเป็นปริมณฑลของการไม่ถูกปฏิเสธ เนื่องจากความสบายใจที่สุดของมนุษย์คือการรู้ว่าเราไม่มีวันจะถูกทิ้ง—ในทางจิตวิคราะห์ ความกลัวถูกทอดทิ้งเป็นความกลัวที่หนักหนาที่สุด [6]—Safe Space จึงมีบทบาทสำคัญมากในการสร้างความรู้สึกว่า ตนเป็นส่วนหนึ่ง (sense of belonging) ให้เกิดขึ้นในที่ทำงาน

 

แม้จะมีการซ้อนทับเชิงความหมายอยู่บ้าง แต่ Psychological Safety และ Safe Space อาจจะไม่ใช่สิ่งเดียวกันเสียทีเดียว โดย Safe Space อาจจะให้ความหมายในเชิงพื้นที่ หรืสภาวะความสบายใจบางอย่าง และเป็นพื้นฐานที่มาในการสร้างความเชื่อใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงานในองค์กร และนำไปสู่ Psychological Safety ซึ่งให้ความหมายในเชิงความรู้สึก หรือความเชื่อร่วมในระบบการทำงานได้ในท้ายที่สุด

 

จึงเป็นหน้าที่ที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้จัดการอาจจะต้องพิจารณาอีกครั้งว่าองค์ของของตนกำลังมองหา หรือต้องการสภาวะหรือปริมณฑลทางความรู้สึกแบบใด รวมถึง การพยายามคงความสมดุลระหว่างทั้งสองสิ่ง เนื่องจากความสบายใจในที่ทำงานนั้นเป็นสิ่งสำคัญ แต่บางครั้ง เพื่อให้เกิดการพัฒนาและการเติบโต ความท้าทาย แรงกดดัน ความไม่ลงรอย หรือ การปะทะสังสรรค์ ระหว่างบุคคลก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เช่นเดียวกับต้นไม้ที่จะเติบโตได้ดีกว่าเมื่อนำออกจากกระถาง หรือการออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อนั่นเอง

 

“Questions are really powerful in creating safety. They indicate to someone that you actually want to hear their voice.” (Amy C. Edmonson, 2019) [6]

ขอบคุณครับ (●♡∀♡)

 ——

 

Reference

[1] Novartis Professor of Leadership and Management at the Harvard Business School

[2] ติดตามบทสนทนาต้นทางได้จาก https://twitter.com/amycedmondson/status/1556681972319232003?s=21Safe Space outside in

[3] Edmondson, A. (1999). Psychological Safety and Learning Behavior in Work Teams. Administrative Science Quarterly, 44(2), 350–383.

[4] ibid.

[5] ibid.

[6] พิริยะดิศ มานิตย์. 2553. ‘ปมเอดิปัส’ ในนิทานแปร์โรต์. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[7] Edmondson, A. (2019). Psychological Safety. Disrupt Yourself Podcast, EP.155.

——

Credit: Photo by Andrea Piacquadio from Pexels

 

Identity Leadership Journey (for TH) Batch#33

สร้างความเป็นผู้นำในแบบของตน ผ่านเวิร์คช็อปที่จะทำให้ทุกท่านได้สำรวจ และรับรู้ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน ประเด็นปัญหาและสไตล์การสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นผ่านการทำแบบทดสอบทางจิตวิทยา ทำกิจกรรมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบของ Leadership

รายละเอียดเพิ่มเติม

จบการศึกษาจากสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยศึกษาค้นคว้าในสาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา มีประสบการณ์ทำงานติดต่อประสานงานข้ามภาษาและวัฒนธรรม รวมไปถึงการแปล และเคยเป็นส่วนหนึ่งของโปรเจคเกี่ยวกับการสื่อสารปรัชญาองค์กร และความผูกพันธ์ของพนักงานต่อองค์กร

Latest Events

IDENTITY LEADERSHIP JOURNEY (for TH) #Batch 33

23-24 May 2024

[สัมมนาฟรีออนไลน์] New era of Coaching – Enhance synergy of managers through dialogue

21 May 2024, Online webinar (ZOOM) บรรยายด้วยภาษาอังกฤษ

IDENTITY LEADERSHIP JOURNEY (for JP) #Batch 34

21-22 Jun 2024

[สัมมนาฟรี] Free Demo “Manager’s Reflective Synergy” 〜หลักสูตรการเรียนรู้แบบสะท้อนย้อนคิดและการสนทนาเพื่อการโค้ชผู้นำสไตล์ CoachingOurselves พัฒนาโดย Henry Mintzberg

25 Jun 2024, Asian Identity office

IDENTITY LEADERSHIP JOURNEY #Batch35 in Tokyo

11th - 12th July 2024, Ginza Tokyo

Manager’s Dilemma – Management Simulation Board Game (for TH)

7 Aug 2024 , @Asian Identity office, Hatch room (face-to-face workshop)

IDENTITY LEADERSHIP JOURNEY (for JP) #Batch 36

13-14 Sep 2024

IDENTITY LEADERSHIP JOURNEY (for TH) #Batch 37 * Early bird discount 20% until 31 July 2024*

17-18 Oct 2024

HR College in Thailand (for JP) Batch #16

Day 1: 8 Oct 2024 / 9:00〜17:00
Day 2: 15 Oct 2024 / 9:00〜17:00

Basic Professional Mindset Workshop

7 Nov 2024, Asian Identity Hatch Room

[Event Ended] คอร์สฝึกอบรมทักษะการบริหารองค์กรที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม – สู่การเป็นผู้บริหารและการพัฒนาองค์กรในประเทศไทย (for JP) #Batch 6

16 Feb 2024, @Asian Identity office, Hatch room (face-to-face workshop)

Latest EGG blog

ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น จริงหรือ ? - ถอดรหัส “ความพยายาม” ด้วย Growth Mindset

Please Mind the Gap between… — On Generations Z

แชร์ประสบการณ์ Self-Reflection – การรู้จักตนเองสอนอะไรเราได้บ้าง

What we talked about when we talk about “Safe”

เรายินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวกับงานด้านทรัพยากรบุคคลในอาเซียน
เช่น การพัฒนาบุคลากร และ การบริหารองค์กร เป็นต้น

ติดต่อเรา

หากท่านต้องการสอบถาม ปรึกษา หรือ ต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคล และ Workshop ต่าง ๆ กรุณากรอกข้อมูลของท่านลงในแบบฟอร์มสำหรับสอบถาม

ติดต่อทางโทรศัพท์

เราให้บริการในวันธรรมดา 9:00 - 18:00 ตามเวลาในประเทศไทย (หรือเวลา 11:00 - 20:00 ของประเทศญี่ปุ่น)